ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของกล้วย

กล้วย
 
กล้วย เป็นไม้ผล ลำต้น เกิดจากกาบหุ้มซ้อนกัน สูงประมาณ 2 – 5 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดกระจายส่วนปลายของลำต้นเวียนสลับซ้ายขวาต่างระนาบกัน ก้านใบยาว แผ่นใบกว้าง เส้นของใบขนานกัน ปลายใบมน มีติ่ง ผิวใบเรียบลื่น ใบมีสีเขียวด้านล่างมีไขนวลหรือแป้งปกคลุม เส้นและขอบใบเรียบ ขนาดและความยาวของใบขึ้นอยู่กับ แต่ละพันธุ์ ดอก เป็นดอกห้อยลงมายาวประมาณ 60 – 130 ซม. ซึ่งเรียกว่าหัวปลี ตามช่อจะมีกาบหุ้มสีแดงเป็นรูปกลมรี ยาว 15 – 30 ซม. ช่อดอกมีเจริญก็จะกลายเป็นผล ผล เป็นผลสดจะประกอบด้วยหวีกล้วย เครือละ 7 – 8 หวี แต่ละหวีมีกล้วยอยู่ประมาณ 10 กว่าลูก ขนาดและสีของกล้วยจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของแต่ละพันธุ์ บางชนิดมีผลสีเขียว , เหลือง , แดง แต่ละต้นให้ผลครั้งเดี่ยวเท่านั้น เมล็ด มีลักษณะกลมขรุขระ เปลือกหุ้มเมล็ดมีสีดำ หนาเหนียวเนื้อในเมล็ดมีสีขาว ขยายพันธุ์ ด้วยการแยกหน่อ หรือแยกเหง้า รสชาติฝาด
กล้วยสกุล Musa
มีการแตกหน่อและใช้ผลรับประทานได้
กล้วยสกุล Musa ในหมู่ Callimusa ที่พบในประเทศไทยขณะนี้มีชนิดเดียว คือ กล้วยป่าชนิด Musa gracilis Horltt. ชื่ออื่นๆ กล้วยทหารพราน หรือกล้วยเลือด กล้วยชนิดนี้ มีลำต้นเทียมสูง 0.6 – 2 เมตร โคนต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 เซนติเมตร กาบและใบมีปื้นสีม่วงเข้ม ใบกว้าง 25-35 เซนติเมตร ยาว 90-150 เซนติเมตร สีเขียว มีนวล ก้านใบยาว 30-70 เซนติเมตร ช่อดอกตั้งยาว 60 เซนติเมตรหรือกว่านั้น ก้านช่อดอกมีขนสั้นปกคลุมหนาแน่น ดอกตัวเมียสีขาวหม่น ปลายสีเขียว ยาว 2.5-4 เซนติเมตร เรียวชิดกัน 3-8 แถว แถวหนึ่ง มี 2-4 ดอก ใบประดับกว้างประมาณ 4.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15 เวนติเมตร สีม่วงปลายสีเขียว อาจร่วงหลุดไปก่อนบ้าง ดอกตัวผู้สีเหลือง ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ผลตรง สีเขียว มีนวลและมีทางสีม่วงตามยาวของผล ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 เซนติเมตร เป็นเหลี่ยม 2-3 เหลี่ยม ปลายทู่ ก้านผลยาวประมาณ 2 เซนติเมตร เมื่อยังอ่อนมีขนประปราย แก่แล้วผิวเกลี้ยง กล้วยป่าชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคใต้ ในท้องที่จังหวัดยะลา และนราธิวาส ขึ้นในป่าดิบชื้น ในต่างประเทศพบที่มาเลเซีย ชาวมลายูเรียกว่าปีชังกะแต ปีชังเวก และปีชังโอนิก
กล้วยสกุล Musa ในหมู่ Eumusa ในประเทศไทยมี 3 ชนิด คือ กล้วยป่า ( Musa acuminata Colla) ชื่ออื่นๆ กล้วยแข้ (เหนือ) กล้วยเถื่อน (ใต้ ) กล้วยลิง (อุตรดิตถ์) กล้วยหม่น (เชียงใหม่) กล้วยป่า มีลำต้นเทียมสูง 2.5 – 3.5 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นนอกมีปื้นดำ มีนวลเล็กน้อย ส่วนด้านในสีแดง ก้านใบสีชมพูอมแดงมี จุดดำ มีครีบเส้นกลางใบสีเขียว ใบชูขึ้นค่อนข้างตรง ก้านช่อดอกมีขนอ่อน ๆ มาก ใบประดับรูปค่อนข้างยาว ปลายแหลมด้านบนสีม่วงอมแดง มีนวล ด้านล่างที่โคนสีแดงจัด เมื่อใบกางตั้งขึ้นจะเอนไปด้านหลัง และม้วนงอเห็นได้ชัด การเรียงของใบประดับช่อดอกไม่ค่อยช้อนมาก และจะมีลักษณะนูนขึ้นที่โคนของใบประดับ เห็นเป็นสันชัดเจน เมื่อใบประดับหลุดออก ดอกย่อยมีก้านดอกสั้น ผลมีก้านและมีขนาดเล็ก รูปร่างของผลมีหลายแบบแล้วแต่ชนิดย่อย (Subspecies) บางชนิดมีผลโค้งงอ บางชนิดไม่โค้งงอ ผลมีเนื้อน้อยสีขาว รสหวาน มีเมล็ดจำนวนมาก สีดำ ผนังหนา และแข็ง
กล้วยป่าที่พบในประเทศไทยมี 4 ชนิดย่อย (Subspecies) คือ
• Musa acuminata Colla ssp. siamea Simmonds
• M. acuminata Colla ssp. burmanisa Simmonds
• M. acuminata Colla ssp. malaccensis (Ridl.) Simmonds
• M. acuminata Colla ssp. microcarpa (Becc.) Simmonds
กล้วยเหล่านี้พบว่าขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าดิบ มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาคในต่างประเทศพบที่อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย กล้วยชนิดนี้ นอกจากขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อแล้ว ยังใช้เมล็ดปลูกได้ ผลของกล้วยป่าเมื่อสุกกินได้ แต่ไม่นิยมเพราะมีเมล็ดมาก ผลอ่อนและหัวปลีรับประทานได้ี ปลายหยัก เครือชี้ออกทางด้านข้าง เครือหนึ่งมี 7-8 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลเล็ก กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร รูปโค้งงอปลายเรียวยาว ก้านผลสั้น เปลือกหนา เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง และยังมีก้านเกสรตัวเมียติดอยู่ กลิ่นหอม เนื้อในสีเหลือง รสหวาน กล้วยเล็บมือนางนิยมปลูกในแถบภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร ปัจจุบันปลูกทั่ว ๆ ไปในสวนหลังบ้าน เพราะเป็นกล้วยที่มีรสชาติดีชนิดหนึ่ง
การขยายพันธุ์
กล้วยเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ง่าย  สะดวก  และไม่มีขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อนแต่อย่างใด
เดิมทีเดียวการขยายพันธุ์กล้วยทำได้  2  วิธี  ได้แก่
1.การขยายพันธุ์โดยเมล็ด
2.การขยายพันธุ์โดยหน่อ
1.การขยายพันธุ์โดยเมล็ด
เป็นวิธีธรรมชาติดั้งเดิมของการขยายพันธุ์กล้วยที่มีเมล็ดมากอย่างกล้วยตานีและกล้วยน้ำว้าบางพันธุ์
การขยายพันธุ์โดยเมล็ดนี้  แต่เดิมชาวสวนจะนำเมล็ดแก่จากผลกล้วยที่แก่เต็มที่มาเพาะ  แต่เนื่องจากเมล็ดกล้วยมีเปลือกที่หนามากทำให้การเพาะเมล็ดต้องใช้เวลานานตั้งแต่  1-4  เดือน  จึงจะงอกให้เห็นต้นอ่อน  ทำให้การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดค่อยๆ  เสื่อมความนิยมลงไปจนเกือบไม่มีชาวสวนคนใดใช้วิธีขยายพันธุ์กล้วยโดยวิธีการเพาะเมล็ดอีกแล้ว  นอกจากนี้นักวิชาการที่เพาะเมล็ดเพื่อการศึกษาค้นคว้า
2.การขยายพันธุ์โดยใช้หน่อ
ใช้หน่ออ่อน  (Peepers)
หน่ออ่อน  ในนี้หมายถึง  หน่อที่มีอายุน้อยและมีขนาดเล็ก  ลักษณะของหน่อ  ใบเป็นใบเกล็ด  อยู่เหนือผิวดิน  (ปัจจุบันวิทยาการเจริญก้าวหน้า  พบว่า  หน่ออ่อนไม่เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์)
ใช้หน่อใบดาบ  (Sword  Suckers)หน่อใบดาบ  หมายถึง  หน่อกล้วยที่เกิดจากตาของเหง้าหน่อใบนี้ลักษณะใบจะเรียวเล็กและยาวเหมือนมีดดาบ  (บางคนเรียกหน่อใบแคระ)  หน่อมีความสูงประมาณ  75-80  เซนติเมตร  มีเหง้าติดอยู่เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์  เพราะจะเจริญเติบโตแข็งแรงและให้ผลผลิตดี
ใช้หน่อแก่  (Median Suckers)
หน่อแก่  หมายถึง  หน่อที่เจริญเติบโตมาจากหน่อใบดาบใบจะแผ่กว้าง
วิธีดูว่าหน่อกล้วยใดเป็นหน่อแกให้นับอายุ  ในกรณีนี้หน่อแก่  หมายถึง  หน่อที่มีอายุประมาณ  5-8  เดือน
ใช้หน่อใบกว้าง  (Water Suckers)
หน่อใบกว้าง  หมายถึง  หน่อที่เกิดจากตาของเหง้าแก่หรือจากเหง้าที่ไม่สมบูรณ์  ใบจะแผ่กว้างขณะที่หน่อยังมีอายุน้อย  ซึ่งหน่อใบกว้างจะเกิดก็ต่อเมื่อต้นแม่ออกเครือและตัดเครือแล้ว  หน่อชนิดนี้จริงๆแล้วไม่เหมาะที่จะนำไปขยายพันธุ์  เพราะจะให้ผลขนาดเล็กลง
สรรพคุณ
ส่วนที่ใช้ยางกล้วยจากใบ ผลดิบ ผลสุก(ทุกประเภท) ผลดิบ หัวปลี
สรรพคุณ
ยางกล้วยจากใบ ใช้ห้ามเลือด โดยใช้ยางกล้วยจากใบหยอดลงที่บาดแผล ผลดิบ แก้โรคท้องเสีย ยาฝาดสมาน แผลในกระเพาะอาหารและอาหารไม่ย่อย โดยใช้กล้วยดิบทั้งลูก บดกับน้ำให้ละเอียดและใส่น้ำตาล รับประทาน(หรือไม่อาจใช้กล้วยดิบตากแห้งบดเป็นผงเก็บไว้ใช้ในยามที่จำเป็น อาจใช้ผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำอุ่นกิน) ผลสุก ใช้เป็นอาหาร เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวารหรือผู้ที่อุจจาระแข็ง วิธีใช้โดยใช้กล้วยสุก 2 ผล ปิ้งกินทั้งเปลือก หัวปลี แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง และลดน้ำตาลในเลือด

 การแปรรูป

ส่วนผสม

แป้งสาลีตราพัด 3 ถ้วยตวง
เนยสด 1 ถ้วยตวง
น้ำตาลทรายป่นละเอียด 1 1 / 2 ถ้วยตวง
นมสด 1 / 2 ถ้วยตวง
กล้วยหอมสุกบดหยาบ ๆ 1 1 / 2 ถ้วยตวง
ไข่ไก่ ( ไข่แดง ) 5 ฟอง
ผงฟู 2 ช้อนชา
ผงโซดา 1 ช้อนชา
กลิ่นกล้วยหอม 1 ช้อนโต๊ะ
ไข่ขาว 5 ฟอง
น้ำตาลทรายป่นละเอียด ¼ ถ้วยตวง
น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
  • 1. ร่อนแป้ง 1 ครั้งแล้วงตวงให้ได้ 3 ถ้วยตวงผสมผงฟู , ผงโซดาคนให้เข้ากันแล้วร่อนอีก 2 ครั้งพักไว้
  • 2. หั่นเนยสดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ในอ่างสแตนเลสแล้วคนให้เนยขึ้นขาวจึงตักน้ำตาลป่นใส่ทีละน้อยคนไปเรื่อย ๆ จนน้ำตาลทรายป่นหมด
  • 3. แยกไข่แดงและไข่ขาว แล้วนำเฉพาะไข่แดงใส่ในข้อที่ 2 ทีละฟองคนให้เป็นเนื้อเดียวกับครีมทำเช่นนี้จนไข่แดงหมด
  • 4.นำไข่ขาวที่แยกไว้ใส่อ่างสแตนเลสผสมน้ำตาลทรายป่นละเอียด ¼ ถ้วยตวงและ น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะตีจนไข่ขาวตั้งยอด
       5. ตวงนมสด 1 / 2 ถ้วยตวงผสมกับกล้วยหอมบดหยาบ 1 1 / 2 ถ้วยตวง
       6. แบ่งแป้งในข้อที่ 1 เป็น 3 ส่วน แล้วร่อนแป้งส่วนที่ 1 , 2 สลับกับนมสด ใส่ในข้อที่3 ตะล่อมแป้งให้เป็นเนื้อเดียวกับครีมแบ่งแป้งส่วนที่ 3 ร่อนใส่สลับกับไข่ขาวที่ตีไว้   ตะล่อมให้ เข้ากันจนเนื้อขนมเนียน
  จุดเตาอบเตรียมไว้ให้ร้อน
นำเนยขาวทาพิมพ์ให้ทั่วแล้วปูทับด้วยกระดาษไขแล้วทาเนยทับด้านบนอีกครั้งหนึ่ง ตักขนมในข้อที่ 6ใส่ในพิมพ์ประมาณ 2/3ของพิมพ์อบที่ไฟ 350 องศา จนหน้าเหลือง

7 ความคิดเห็น: