ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของกล้วย

กล้วย
 
กล้วย เป็นไม้ผล ลำต้น เกิดจากกาบหุ้มซ้อนกัน สูงประมาณ 2 – 5 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดกระจายส่วนปลายของลำต้นเวียนสลับซ้ายขวาต่างระนาบกัน ก้านใบยาว แผ่นใบกว้าง เส้นของใบขนานกัน ปลายใบมน มีติ่ง ผิวใบเรียบลื่น ใบมีสีเขียวด้านล่างมีไขนวลหรือแป้งปกคลุม เส้นและขอบใบเรียบ ขนาดและความยาวของใบขึ้นอยู่กับ แต่ละพันธุ์ ดอก เป็นดอกห้อยลงมายาวประมาณ 60 – 130 ซม. ซึ่งเรียกว่าหัวปลี ตามช่อจะมีกาบหุ้มสีแดงเป็นรูปกลมรี ยาว 15 – 30 ซม. ช่อดอกมีเจริญก็จะกลายเป็นผล ผล เป็นผลสดจะประกอบด้วยหวีกล้วย เครือละ 7 – 8 หวี แต่ละหวีมีกล้วยอยู่ประมาณ 10 กว่าลูก ขนาดและสีของกล้วยจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของแต่ละพันธุ์ บางชนิดมีผลสีเขียว , เหลือง , แดง แต่ละต้นให้ผลครั้งเดี่ยวเท่านั้น เมล็ด มีลักษณะกลมขรุขระ เปลือกหุ้มเมล็ดมีสีดำ หนาเหนียวเนื้อในเมล็ดมีสีขาว ขยายพันธุ์ ด้วยการแยกหน่อ หรือแยกเหง้า รสชาติฝาด
กล้วยสกุล Musa
มีการแตกหน่อและใช้ผลรับประทานได้
กล้วยสกุล Musa ในหมู่ Callimusa ที่พบในประเทศไทยขณะนี้มีชนิดเดียว คือ กล้วยป่าชนิด Musa gracilis Horltt. ชื่ออื่นๆ กล้วยทหารพราน หรือกล้วยเลือด กล้วยชนิดนี้ มีลำต้นเทียมสูง 0.6 – 2 เมตร โคนต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 เซนติเมตร กาบและใบมีปื้นสีม่วงเข้ม ใบกว้าง 25-35 เซนติเมตร ยาว 90-150 เซนติเมตร สีเขียว มีนวล ก้านใบยาว 30-70 เซนติเมตร ช่อดอกตั้งยาว 60 เซนติเมตรหรือกว่านั้น ก้านช่อดอกมีขนสั้นปกคลุมหนาแน่น ดอกตัวเมียสีขาวหม่น ปลายสีเขียว ยาว 2.5-4 เซนติเมตร เรียวชิดกัน 3-8 แถว แถวหนึ่ง มี 2-4 ดอก ใบประดับกว้างประมาณ 4.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15 เวนติเมตร สีม่วงปลายสีเขียว อาจร่วงหลุดไปก่อนบ้าง ดอกตัวผู้สีเหลือง ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ผลตรง สีเขียว มีนวลและมีทางสีม่วงตามยาวของผล ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 เซนติเมตร เป็นเหลี่ยม 2-3 เหลี่ยม ปลายทู่ ก้านผลยาวประมาณ 2 เซนติเมตร เมื่อยังอ่อนมีขนประปราย แก่แล้วผิวเกลี้ยง กล้วยป่าชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคใต้ ในท้องที่จังหวัดยะลา และนราธิวาส ขึ้นในป่าดิบชื้น ในต่างประเทศพบที่มาเลเซีย ชาวมลายูเรียกว่าปีชังกะแต ปีชังเวก และปีชังโอนิก
กล้วยสกุล Musa ในหมู่ Eumusa ในประเทศไทยมี 3 ชนิด คือ กล้วยป่า ( Musa acuminata Colla) ชื่ออื่นๆ กล้วยแข้ (เหนือ) กล้วยเถื่อน (ใต้ ) กล้วยลิง (อุตรดิตถ์) กล้วยหม่น (เชียงใหม่) กล้วยป่า มีลำต้นเทียมสูง 2.5 – 3.5 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นนอกมีปื้นดำ มีนวลเล็กน้อย ส่วนด้านในสีแดง ก้านใบสีชมพูอมแดงมี จุดดำ มีครีบเส้นกลางใบสีเขียว ใบชูขึ้นค่อนข้างตรง ก้านช่อดอกมีขนอ่อน ๆ มาก ใบประดับรูปค่อนข้างยาว ปลายแหลมด้านบนสีม่วงอมแดง มีนวล ด้านล่างที่โคนสีแดงจัด เมื่อใบกางตั้งขึ้นจะเอนไปด้านหลัง และม้วนงอเห็นได้ชัด การเรียงของใบประดับช่อดอกไม่ค่อยช้อนมาก และจะมีลักษณะนูนขึ้นที่โคนของใบประดับ เห็นเป็นสันชัดเจน เมื่อใบประดับหลุดออก ดอกย่อยมีก้านดอกสั้น ผลมีก้านและมีขนาดเล็ก รูปร่างของผลมีหลายแบบแล้วแต่ชนิดย่อย (Subspecies) บางชนิดมีผลโค้งงอ บางชนิดไม่โค้งงอ ผลมีเนื้อน้อยสีขาว รสหวาน มีเมล็ดจำนวนมาก สีดำ ผนังหนา และแข็ง
กล้วยป่าที่พบในประเทศไทยมี 4 ชนิดย่อย (Subspecies) คือ
• Musa acuminata Colla ssp. siamea Simmonds
• M. acuminata Colla ssp. burmanisa Simmonds
• M. acuminata Colla ssp. malaccensis (Ridl.) Simmonds
• M. acuminata Colla ssp. microcarpa (Becc.) Simmonds
กล้วยเหล่านี้พบว่าขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าดิบ มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาคในต่างประเทศพบที่อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย กล้วยชนิดนี้ นอกจากขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อแล้ว ยังใช้เมล็ดปลูกได้ ผลของกล้วยป่าเมื่อสุกกินได้ แต่ไม่นิยมเพราะมีเมล็ดมาก ผลอ่อนและหัวปลีรับประทานได้ี ปลายหยัก เครือชี้ออกทางด้านข้าง เครือหนึ่งมี 7-8 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลเล็ก กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร รูปโค้งงอปลายเรียวยาว ก้านผลสั้น เปลือกหนา เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง และยังมีก้านเกสรตัวเมียติดอยู่ กลิ่นหอม เนื้อในสีเหลือง รสหวาน กล้วยเล็บมือนางนิยมปลูกในแถบภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร ปัจจุบันปลูกทั่ว ๆ ไปในสวนหลังบ้าน เพราะเป็นกล้วยที่มีรสชาติดีชนิดหนึ่ง
การขยายพันธุ์
กล้วยเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ง่าย  สะดวก  และไม่มีขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อนแต่อย่างใด
เดิมทีเดียวการขยายพันธุ์กล้วยทำได้  2  วิธี  ได้แก่
1.การขยายพันธุ์โดยเมล็ด
2.การขยายพันธุ์โดยหน่อ
1.การขยายพันธุ์โดยเมล็ด
เป็นวิธีธรรมชาติดั้งเดิมของการขยายพันธุ์กล้วยที่มีเมล็ดมากอย่างกล้วยตานีและกล้วยน้ำว้าบางพันธุ์
การขยายพันธุ์โดยเมล็ดนี้  แต่เดิมชาวสวนจะนำเมล็ดแก่จากผลกล้วยที่แก่เต็มที่มาเพาะ  แต่เนื่องจากเมล็ดกล้วยมีเปลือกที่หนามากทำให้การเพาะเมล็ดต้องใช้เวลานานตั้งแต่  1-4  เดือน  จึงจะงอกให้เห็นต้นอ่อน  ทำให้การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดค่อยๆ  เสื่อมความนิยมลงไปจนเกือบไม่มีชาวสวนคนใดใช้วิธีขยายพันธุ์กล้วยโดยวิธีการเพาะเมล็ดอีกแล้ว  นอกจากนี้นักวิชาการที่เพาะเมล็ดเพื่อการศึกษาค้นคว้า
2.การขยายพันธุ์โดยใช้หน่อ
ใช้หน่ออ่อน  (Peepers)
หน่ออ่อน  ในนี้หมายถึง  หน่อที่มีอายุน้อยและมีขนาดเล็ก  ลักษณะของหน่อ  ใบเป็นใบเกล็ด  อยู่เหนือผิวดิน  (ปัจจุบันวิทยาการเจริญก้าวหน้า  พบว่า  หน่ออ่อนไม่เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์)
ใช้หน่อใบดาบ  (Sword  Suckers)หน่อใบดาบ  หมายถึง  หน่อกล้วยที่เกิดจากตาของเหง้าหน่อใบนี้ลักษณะใบจะเรียวเล็กและยาวเหมือนมีดดาบ  (บางคนเรียกหน่อใบแคระ)  หน่อมีความสูงประมาณ  75-80  เซนติเมตร  มีเหง้าติดอยู่เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์  เพราะจะเจริญเติบโตแข็งแรงและให้ผลผลิตดี
ใช้หน่อแก่  (Median Suckers)
หน่อแก่  หมายถึง  หน่อที่เจริญเติบโตมาจากหน่อใบดาบใบจะแผ่กว้าง
วิธีดูว่าหน่อกล้วยใดเป็นหน่อแกให้นับอายุ  ในกรณีนี้หน่อแก่  หมายถึง  หน่อที่มีอายุประมาณ  5-8  เดือน
ใช้หน่อใบกว้าง  (Water Suckers)
หน่อใบกว้าง  หมายถึง  หน่อที่เกิดจากตาของเหง้าแก่หรือจากเหง้าที่ไม่สมบูรณ์  ใบจะแผ่กว้างขณะที่หน่อยังมีอายุน้อย  ซึ่งหน่อใบกว้างจะเกิดก็ต่อเมื่อต้นแม่ออกเครือและตัดเครือแล้ว  หน่อชนิดนี้จริงๆแล้วไม่เหมาะที่จะนำไปขยายพันธุ์  เพราะจะให้ผลขนาดเล็กลง
สรรพคุณ
ส่วนที่ใช้ยางกล้วยจากใบ ผลดิบ ผลสุก(ทุกประเภท) ผลดิบ หัวปลี
สรรพคุณ
ยางกล้วยจากใบ ใช้ห้ามเลือด โดยใช้ยางกล้วยจากใบหยอดลงที่บาดแผล ผลดิบ แก้โรคท้องเสีย ยาฝาดสมาน แผลในกระเพาะอาหารและอาหารไม่ย่อย โดยใช้กล้วยดิบทั้งลูก บดกับน้ำให้ละเอียดและใส่น้ำตาล รับประทาน(หรือไม่อาจใช้กล้วยดิบตากแห้งบดเป็นผงเก็บไว้ใช้ในยามที่จำเป็น อาจใช้ผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำอุ่นกิน) ผลสุก ใช้เป็นอาหาร เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวารหรือผู้ที่อุจจาระแข็ง วิธีใช้โดยใช้กล้วยสุก 2 ผล ปิ้งกินทั้งเปลือก หัวปลี แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง และลดน้ำตาลในเลือด

 การแปรรูป

ส่วนผสม

แป้งสาลีตราพัด 3 ถ้วยตวง
เนยสด 1 ถ้วยตวง
น้ำตาลทรายป่นละเอียด 1 1 / 2 ถ้วยตวง
นมสด 1 / 2 ถ้วยตวง
กล้วยหอมสุกบดหยาบ ๆ 1 1 / 2 ถ้วยตวง
ไข่ไก่ ( ไข่แดง ) 5 ฟอง
ผงฟู 2 ช้อนชา
ผงโซดา 1 ช้อนชา
กลิ่นกล้วยหอม 1 ช้อนโต๊ะ
ไข่ขาว 5 ฟอง
น้ำตาลทรายป่นละเอียด ¼ ถ้วยตวง
น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
  • 1. ร่อนแป้ง 1 ครั้งแล้วงตวงให้ได้ 3 ถ้วยตวงผสมผงฟู , ผงโซดาคนให้เข้ากันแล้วร่อนอีก 2 ครั้งพักไว้
  • 2. หั่นเนยสดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ในอ่างสแตนเลสแล้วคนให้เนยขึ้นขาวจึงตักน้ำตาลป่นใส่ทีละน้อยคนไปเรื่อย ๆ จนน้ำตาลทรายป่นหมด
  • 3. แยกไข่แดงและไข่ขาว แล้วนำเฉพาะไข่แดงใส่ในข้อที่ 2 ทีละฟองคนให้เป็นเนื้อเดียวกับครีมทำเช่นนี้จนไข่แดงหมด
  • 4.นำไข่ขาวที่แยกไว้ใส่อ่างสแตนเลสผสมน้ำตาลทรายป่นละเอียด ¼ ถ้วยตวงและ น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะตีจนไข่ขาวตั้งยอด
       5. ตวงนมสด 1 / 2 ถ้วยตวงผสมกับกล้วยหอมบดหยาบ 1 1 / 2 ถ้วยตวง
       6. แบ่งแป้งในข้อที่ 1 เป็น 3 ส่วน แล้วร่อนแป้งส่วนที่ 1 , 2 สลับกับนมสด ใส่ในข้อที่3 ตะล่อมแป้งให้เป็นเนื้อเดียวกับครีมแบ่งแป้งส่วนที่ 3 ร่อนใส่สลับกับไข่ขาวที่ตีไว้   ตะล่อมให้ เข้ากันจนเนื้อขนมเนียน
  จุดเตาอบเตรียมไว้ให้ร้อน
นำเนยขาวทาพิมพ์ให้ทั่วแล้วปูทับด้วยกระดาษไขแล้วทาเนยทับด้านบนอีกครั้งหนึ่ง ตักขนมในข้อที่ 6ใส่ในพิมพ์ประมาณ 2/3ของพิมพ์อบที่ไฟ 350 องศา จนหน้าเหลือง

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

เนื้อหาบูรณาการ น้ำส้มควันไม้


เนื้อหาบูรณาการ น้ำหมักชีวภาพ


 น้ำหมักชีวภาพ หรือ น้ำสกัดชีวภาพ หรือ ปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์ ตามแต่จะเรียก เป็นสารละลายเข้มข้นที่ได้จากการหมักเศษพืช หรือสัตว์ กับสารที่ให้ความหวาน จนถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการแล้วจะได้สารละลายเข้มข้นสีน้ำตาล ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ และสารอินทรีย์หลายชนิด

          เดิมทีนั้นจุดประสงค์ของการคิดค้น "น้ำหมักชีวภาพ" ขึ้นมา เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรโดยเฉพาะ แต่ช่วงหลังก็มีการนำน้ำหมักชีวภาพ มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านอื่นเช่นกัน คือ

          ด้านการเกษตร น้ำหมักชีวภาพ มีธาตุอาหารสำคัญ ทั้งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แคลเซียม กำมะถัน ฯลฯ จึงสามารถนำไปเป็นปุ๋ย เร่งอัตราการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น และยังสามารถใช้ไล่แมลงศัตรูพืชได้ด้วย

           ด้านปศุสัตว์ สามารถช่วยกำจัดกลิ่นเหม็น น้ำเสียจากฟาร์มสัตว์ได้ ช่วยป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนการให้ยาปฏิชีวนะ ทำให้สัตว์แข็งแรง มีความต้านทานโรค ช่วยกำจัดแมลงวัน ฯลฯ

           ด้านการประมง ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำ  ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ได้ ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ ช่วยให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชต่าง ๆ ได้ดี

          ด้านสิ่งแวดล้อม น้ำหมักชีวภาพ สามารถช่วยบำบัดน้ำเสียจากการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน และสถานประกอบการทั่วไป แถมยังช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากกองขยะ การเลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนต่าง ๆ นอกจากนี้ยังช่วยปรับสภาพอากาศที่เสียให้สดชื่น และมีสภาพดีขึ้น

          ประโยชน์ในครัวเรือน เราสามารถนำน้ำหมักชีวภาพ มาใช้ในการซักล้างทำความสะอาด แทนสบู่ ผงซักฟอก แชมพู น้ำยาล้างจาน รวมทั้งใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ โถส้วม ท่อระบายน้ำ ฯลฯ ได้ด้วย

          เห็นประโยชน์ใช้สอยของ น้ำหมักชีวภาพ มากมายขนาดนี้ ชักอยากลองทำน้ำหมักชีวภาพดูเองแล้วใช่ไหมล่ะ จริง ๆ แล้ว น้ำหมักชีวภาพ มีหลายสูตรตามแต่ที่ผู้คิดค้นขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยต่าง ๆ กัน วันนี้เราก็มี วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ แบบง่าย ๆ มาฝากกันด้วย

วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อการเกษตร

          เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ ในการทำน้ำหมักชีวภาพ ได้

          ส่วนผสม : เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในการทำน้ำหมักชีวภาพ โดยสับเป็นชิ้นเล็ก 3 ส่วน, กากน้ำตาล 1 ส่วน (อาจใช้น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลทรายขาว ผสมน้ำมะพร้าว 1 ส่วนแทนได้) น้ำเปล่า 10 ส่วน

          วิธีทำ : นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน แล้วบรรจุลงในถังหมักพลาสติก หรือขวดปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 3 เดือน แล้วจึงสามารถนำไปใส่เป็นปุ๋ยให้พืชผักผลไม้ได้ โดย

           ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงใบพืชผักผลไม้

           ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ให้ดินร่วนซุย

           ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน เพื่อกำจัดวัชพืช

          ทั้งนี้ มีเทคนิคแนะนำว่า หากต้องการบำรุงส่วนใบพืช ก็ให้ใช้ส่วนใบยอดพืชมาหมัก หากต้องการบำรุงผล ให้ใช้ส่วนผล เช่น กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก เปลือกสับปะรด ฟักทองมาหมัก หรือหากต้องการใช้กำจัดศัตรูพืข ควรหมักสะเดา ตะไคร้หอม ข่า แยกต่างหากด้วย เมื่อจะใช้ก็นำมาผสมฉีดพ่นพืชผักผลไม้

          นอกจากนี้ หากใช้สายยางดูดเฉพาะน้ำใส ๆ จากน้ำหมักชีวภาพที่หมักได้ 3 เดือนแล้วออกมา จะเรียกส่วนนี้ว่า "หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ" เมื่อนำไปผสมอีกครั้ง แล้วหมักไว้ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพอายุ 5 เดือน ซึ่งหากขยายต่ออายุทุก ๆ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อที่อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ และประสิทธิภาพสูงมากขึ้น

วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อการซักล้าง

          น้ำหมักชีวภาพ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการซักล้างได้ โดยมีสูตรให้นำผลไม้ เปลือกผลไม้ (ฝักส้มป่อย , มะคำดีควาย , มะนาว ฯลฯ) 3 ส่วน น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำตาลอ้อย 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน ใส่รวมกันในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท โดยให้เหลือช่องว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของขวด/ถัง แล้วหมั่นเปิดฝาคลายแก๊สออก โดยต้องวางไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หมักไว้นาน 3 เดือน ก็จะได้น้ำหมักชีวภาพ สำหรับซักผ้า หรือล้างจานได้ ซึ่งสูตรนี้แม้ว่าผ้าจะมีราขึ้น หากนำผ้าไปแช่ทิ้งไว้ในน้ำหมักชีวภาพก็จะสามารถซักออกได้

วันสำคัญ วันแม่

วันแม่แห่งชาติ
ทุกวันที่
12 สิงหาคม ของทุกปี
        วันแม่แห่งชาติ หรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า "วันแม่" ทุกคนรับทราบและซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถคือ วันที่ 12 สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่ของชาติด้วย
        แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวันแม่ของชาติ
        ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ คือ วันที่
12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
        วันแม่แห่งชาติ เป็นวันที่ทางราชการกำหนดในวันที่
12 สิงหาคม ของทุกปี และถือว่าเป็นวันสำคัญยิ่งของปวงชนชาวไทย โดยกำหนดให้ถือว่า "ดอกมะลิ" สีขาวบริสุทธิ์เป็นสัญลักษณ์ของความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่เรา
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ 
  1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน 
  2.  จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ
  3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
  4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่
วันแม่ในประเทศต่าง ๆ
  • อาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์        นอร์เวย์
  • 8 มีนาคม         บัลแกเรีย, แอลเบเนีย
  • อาทิตย์ที่สี่ในฤดูถือบวชเล็นท์ (มาเทอริง ซันเ ดย์)       สหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์
  • 21 มีนาคม (วันแรกของฤดูใบไม้ผลิ)            จอร์แดน, ซีเรีย, เลบานอน, อียิปต์
  • อาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคม          โปรตุเกส, ลิทัวเนีย, สเปน, แอฟริกาใต้, ฮังการี
  • 8 พฤษภาคม         เกาหลีใต้ (วันผู้ปกครอง)
  • 10 พฤษภาคม       กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้, บาห์เรน, ปากีสถาน, มาเลเซีย, เม็กซิโก, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อินเดีย, โอมาน
  • อาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม          แคนาดา, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), สาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, เดนมาร์ก, ตุรกี, นิวซีแลนด์, เนเธอร์แลนด์, บราซิล, เบลเยียม, เปรู, ฟินแลนด์, มอลตา, เยอรมนี, ลัตเวีย, สโลวาเกีย, สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, อิตาลี, เอสโตเนีย, ฮ่องกง
  • 26 พฤษภาคม      โปแลนด์
  • 27 พฤษภาคม      โบลิเวีย
    อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม       สาธารณรัฐโดมินิกัน, สวีเดน
    อาทิตย์แรกของเดือนมิถุนายนหรือ อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม ฝรั่งเศส
  • 12 สิงหาคม    ไทย (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)
  • 15 สิงหาคม (วันอัสสัมชัญ) คอสตาริกา, แอนท์เวิร์ป (เบลเยียม)
    อาทิตย์ที่สองหรือสามของเดือนตุลาคม อาร์เจนตินา (Día de la Madre)
  • 28 พฤศจิกายน     รัสเซีย
  • 8 ธันวาคม            ปานามา
  • 22 ธันวาคม          อินโดนีเซีย
 http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=109&post_id=33406

วันสำคัญ วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา หรือ วิศาขบูชา (บาลี: วิสาขปูชา; อังกฤษ: Vesak) เป็น "วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล" ของชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก, วันหยุดราชการ ในหลายประเทศ และ วันสำคัญของโลก ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ[1] เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก"วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน โดยในประเทศไทย ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 หลัง ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอื่นที่ไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติของไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม[2] และในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกาย ที่นับถือว่าเหตุการณ์ทั้ง 3 นั้น เกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ๆ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท [3]
วันวิสาขบูชานั้น ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน
วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย, ประเทศไทย, ประเทศพม่า, ประเทศศรีลังกา, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก[4] (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากลนานาชาติ (International Day)" หรือ "วันสำคัญของโลก" ตามคำประกาศของที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 54 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือความจริงของโลกแก่พหูชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ซึ่งทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 ทั้งสิ้นนี้ ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เนื้อหาบูรณาการ ข้าว

ข้าว
ข้าวเป็นอาหารหลักของชาวโลกมานานนับพันปี พลเมืองทั่วโลกรับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก เพราะข้าวมีสารอาหารครบถ้วนบริบูรณ์ ทั้งคาร์โบไฮเดรต ซึ่งมีแป้งในปริมาณที่สูงมาก จึงเป็นแหล่งให้พลังงานที่ดีที่สุด นอกจากนั้น ข้าวยังมีสารอาหารอื่นๆ เช่น โปรตีน ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนหลายชนิด มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัว มีวิตามินหลายชนิด โดยเฉพาะวิตามินบีรวมจะมีมากเป็นพิเศษ มีแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย เช่น แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส ไนอาซีน ซีลีเนี่ยม แม็กนีเซี่ยม โครเมี่ยม เป็นต้น
        
          จากการศึกษาค้นคว้าในห้องปฏิบัติการของนักวิทยาศาสตร์และการแพทย์ พบสารอาหารเพิ่มเติมในข้าวอีกหลายชนิด เช่น สารแกมม่าออไรซานอล โอเมก้า 3 โอเมก้า 6 และอื่นๆ อีกหลายชนิด แต่ข้าวที่มีสารอาหารดังกล่าวอยู่ครบถ้วนบริบูรณ์ ต้องเป็นข้าวกล้องที่มีจมูกข้าวและรำข้าวติดอยู่รอบเมล็ดในปริมาณที่มากเท่านั้น ข้าวที่ขัดสีจนขาวสะอาดไม่มีจมูกข้าวและรำข้าวติดอยู่ จะไม่มีสารอาหารดังกล่าว จะเหลืออยู่แต่แป้งเท่านั้น

           ข้าวที่ควรรับประทาน คือ ข้าวกล้องที่มีจมูกข้าวและรำข้าวติดอยู่รอบเมล็ดในปริมาณที่มาก จึงจะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ดี ส่วนข้าวขัดขาว ไม่ควรรับประทาน เพราะให้แค่พลังงานที่มาจากแป้งและน้ำตาล หากรับประทานต่อเนื่องกันนานๆ จะก่อให้เกิดโรคเบาหวาน โรคความดัน โรคเส้นเลือดตีบตัน โรคหัวใจ โรคสมองเสื่อม โรคอัมพฤกษ์ เป็นต้น
ลักษณะข้าวกล้องที่ควรซื้อ

ข้าวกล้อง คือข้าวที่สีเพียงครั้งเดียว โดยการกะเทาะเปลือกนอกออกเท่านั้น จะไม่มีการขัดสีเอาเส้นใยที่อยู่รอบๆ เมล็ดข้าวออกอย่างเด็ดขาด ดังนั้น การเลือกซื้อข้าวกล้อง จึงควรสังเกต ดังนี้
 
1. เมล็ดข้าวต้องสมบูรณ์ ไม่มีรอยแหว่งตรงปลายเมล็ดข้าว เพราะถ้ามีรอยแหว่ง แสดงว่า จมูกข้าวหลุดหายไปแล้ว ซึ่งจมูกข้าวนี้เองที่เป็นแหล่งรวมสารอาหารที่มากที่สุดในเมล็ดข้าวแต่ละเม็ด

2. สีของเม็ดข้าวเป็นสีขาวขุ่น อาจมีสีน้ำตาลปนอยู่บ้าง มากน้อยขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าว บางครั้งอาจมีสีเขียวอ่อนๆ ติดอยู่ แสดงว่า เป็นข้าวเก็บเกี่ยวใหม่ๆ เยื่อหุ้มเมล็ดข้าวจึงยังติดอยู่ มิได้ถูกขัดสีทิ้งไป

3. เป็นข้าวที่แห้งสนิท ไม่มีความชื้น หรือขึ้นรา

4. บรรจุในถุงปิดสนิท มีแหล่งผลิตและราคาจำหน่ายที่ชัดเจน

5. การซื้อแต่ละครั้ง ควรซื้อในปริมาณที่พอเหมาะกับสมาชิกในครอบครัวที่จะรับประทานได้ 1 - 2  สัปดาห์

6. การเก็บรักษา เมื่อเปิดถุงใช้แล้ว ควรปิดถุงให้มิดชิด เพื่อป้องกันแมลงสาบ หรือ หนู ลงไปแพร่เชื้อ

วิธีการหุงข้าวกล้อง

             เพื่อให้ข้าวกล้อง ยังคงมีสารอาหารครบถ้วนบริบูรณ์มากที่สุด จึงขอแนะนำวิธีการหุงข้าวกล้องที่ถูกต้อง ดังนี้

1. การซาวข้าวกล้อง ควรซาว 1 - 2 ครั้ง เท่านั้น เพราะถ้าซาวหลายครั้ง วิตามินบางชนิดที่ละลายน้ำได้ จะสูญเสียไปกับการซาวข้าว

2. การหุงข้าวกล้องแต่ละครั้ง ควรหุงให้พอดีกับการรับประทานแต่ละมื้อ เมื่อหุงสุกให้ถอดปลั๊กหม้อหุงข้าวไฟฟ้าทันที และรับประทานให้หมดหม้อ เพราะวิตามินบางชนิด เมื่อถูกความร้อนจัดๆ นานๆ จะเสื่อมสลายทันที ยิ่งเสียบหม้อหุงข้าวอุ่นไว้หลายชั่วโมง หรือ อุ่นไว้ตลอดวัน วิตามินและแร่ธาตุบางชนิดจะไม่เหลืออยู่เลย

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วันสำคัญ วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา
เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม[1] การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา
วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย
สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย
ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา"
นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ"[2] โดยในปีถัดมา ยังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็นวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วราชอาณาจักร[3] ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษาและในช่วง 3 เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย